top of page
ค้นหา
  • รูปภาพนักเขียนมองหาอะไรอยู่หรือเปล่า

มองหาเหตุผลที่ทำให้เครื่องต้มยำกลายเป็นวัตถุอันตรายอยู่หรือเปล่า

อัปเดตเมื่อ 22 ก.ค. 2563


ตะไคร้ พริก ขมิ้น สะเดา และพืชสมุนไพรอีก 13 ชนิดที่เรากินกันอยู่ตั้งแต่สมัยปู่ย่าตายกลายเป็นวัตถุอันตรายไปตั้งแต่เมื่อไหร่ ก่อนอื่นต้องเข้าใจว่าคำว่า"วัตถุอันตราย ไม่ได้หมายถึง พืชสนมุนไพรที่ใส่ในเครื่องต้มยำ แต่หมายถึง...สารสกัดธรรมชาติจากพืชสมุนไพรเหล่านี้ เพื่อใช้ป้องกันกำจัดแมลง วัชพืช โรคพืช ศัตรูพืช ฯลฯ ต่างหาก ซึ่งหลายคนอาจสงสัยว่าในเมื่อเป็นสารสะกัดจากพืชแล้วจะอันตรายได้อย่างไร

พ.รบ.วัตถุอันตราย พ.ศ. 2535 ระบุว่า วัตถุอันตราย คือ วัตถุอย่างอื่น ไม่ว่าจะเป็นเคมีภัณฑ์หรือสิ่งอื่นใด ที่อาจทำให้เกิดอันตราย แก่บุคคล สัตว์ พืช ทรัพย์ หรือสิ่งแวดล้อม ผลิต หมายความว่า ทำ เพาะ ปรุง ผสม แปรสภาพ ปรุงแต่ง แบ่งบรรจุ หรือ รวมบรรจุ

ในอดีต เหตุผลที่สมุนไพร 13 ชนิด ถูกจัดเป็นวัตถุอันตราย เนื่องจาก และสารสกัดธรรมชาติจากสมุนไพรทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางเคมี มีความเสี่ยงเป็นพิษ จึงต้องใช้กฎหมายควบคุมทั้งผู้ผลิต นำเข้า และผู้ครอบครอง จะต้องมาขึ้นทะเบียนกับกรมวิชาการเกษตร

ปัจจุบัน พบว่า พืชสมุนไพรทั้ง 13 ชนิด เป็นพืชที่เกษตรกรทดแทนสารเคมีกำจัดศัตรูพืชมานาน เนื่องจากไม่มีผลกระทบต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อมเลย หรือมีน้อยมาก ไม่ก่อให้เกิดผลตกค้างที่เป็นอันตรายทั้งต่อเกษตรกรเองและผู้บริโภค และยังสามารถหาได้ง่ายจากในชุมชน


ที่ผ่านมา เกษตรกรได้รวมกลุ่มกันผลิตสินค้าจากสมุนไพรเหล่านี้จำหน่ายอย่างแพร่หลาย เป็นการพัฒนาเศรษฐกิจระดับท้องถิ่นบนฐานความหลากหลายทางชีวภาพ โดยไม่ต้องพึ่งพาสารเคมีซึ่งต้องนำเข้าจากต่างประเทศ ทดแทนการใช้สารเคมีได้หลายร้อยล้านบาทจนถึงพันล้านบาท

ในปี 2556 นายประเสริฐ บุญชัยสุข รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ในปี 2556 ได้ประกาศให้สารสกัดจากสมุนไพรเหล่านี้ เป็นวัตถุอันตรายชนิดที่ 2

ข้อแตกต่างระหว่างวัตถุอันตราย ทั้ง2 ประเภท


วัตถุอันตรายชนิดที่ 1 ได้แก่ วัตถุอันตรายที่การผลิต การนำเข้า การส่งออก หรือการมีไว้ในครอบครองต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนด


วัตถุอันตรายชนิดที่ 2 ได้แก่ วัตถุอันตรายที่การผลิต การนำเข้า การส่งออก หรือการมีไว้ในครอบครองต้องแจ้งให้พนักงานเจ้าหน้าที่ทราบก่อนและต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดด้วย

ที่ผ่านมา เกษตรกรส่งหนังสือผ่านกรมวิชาการเกษตรเข้ามาจำนวนมาก เพื่อขออนุญาตที่จะทำน้ำหมัก แต่กรมวิชาการเกษตรไม่สามารถอนุญาตได้ จึงเป็นที่มาของการปลดล็อกสมุนไพรเป็น “วัตถุอันตรายชนิดที่1” เพื่อให้เกษตรกรก็สามารถผลิตใช้กันได้


กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้มอบหมายให้กรมวิชาการเกษตรจัดทำข้อมูลเพื่อยกร่างเสนอคณะกรรมการวัตถุอันตราย เพื่อปลดล็อคบัญชีพืชสมุนไพรออกจากการเป็นวัตถุอันตรายชนิดที่ 2

ส่วนที่เป็นสารสกัด หรือที่เป็นน้ำ จะนำออกจากบัญชีวัตถุอันตรายชนิดที่ 2 มาไว้ในบัญชีที่ 1 จากนี้ไปเกษตรกรสามารถนำสมุนไพรในรูปของผงสมุนไพรไปใช้ได้โดยไม่ผิดกฎหมาย


ทั้งนี้การปลดล็อคก็ยังมีเงื่อนไขเพิ่มเติม คือ ส่วนที่เป็นน้ำต้องดูว่าจะนำไปผลิตอะไร มีสารที่มาผสมอะไรบ้าง มีอันตรายต่อสุขภาพของคน หรือสัตว์ หรือพืช หรือไม่


สารสกัดธรรมชาติจะแยกออกเป็น 2 ส่วนหลัก จากการสกัดจริงและไม่ผ่านการสกัด


การสกัดจริง ไม่สามารถปลดล็อกสารธรรมชาติจากการสกัด ออกเป็นวัตถุอันตรายชนิดที่ 1 ได้ อันเนื่องมาจากการสกัดจะได้สารออกฤทธิ์ในการกำจัดศัตรูพืช 100% ซึ่งมีความเป็นพิษสูง


ทว่าหากไม่ผ่านการสกัด เช่น นำไปตากแห้ง บ่ม และสับ ไม่จำเป็นต้องขึ้นทะเบียน ซึ่งจะสะดวกกับทางเกษตรกรมากกว่า


สุดท้ายแล้วต้องมาดูเนื้อหาในการยกร่างของกรมวิชาการเกษตรอีกครั้ง ก่อนนำเสนอคณะกรรมการวัตถุอันตราย ว่ามีรายละเอียดอย่างไร


ที่มา



ดู 86 ครั้ง0 ความคิดเห็น

Looking For What ?

Everything  you are looking 4 , Just find here !

bottom of page